วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคความดันโลหิตสูง


 โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

           คุณทราบไหมว่า มีรายงานจากระทรวงสาธารณสุขว่า คนไทยอ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
เป็นอันดับ 5 ของเอเชีย เป็นผลของการที่คนไทย ใช้ชีวิตกินแล้วนั่งหรือนอน และขาดการออกกำลังกาย
แล้วทราบไหมว่านั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิด "โรคความดันโลหิตสูงชนิดพิเศษ"ความดันโลหิต คือ ความดันจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย  เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิต ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจและแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 140/90โดยหากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง




      ความดันโลหิตสูง กับ ความดันโลหิตสูงชนิดพิเศษ นั้นจริงๆ แล้วไม่ แตกต่างกัน แต่ที่เรียกความดันโลหิตพิเศษก็เพราะความดันโลหิตพิเศษ จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลาที่มีความเครียดเท่านั้น โดยกลุ่มเสี่ยงจะเป็น พันธุกรรม,คนแก่, คนอ้วน, คนที่กินเค็มถามว่าแล้วกินเค็มขนาดไหนที่มีความเสี่ยงสูง ยกขึ้นมาสักตัวอย่างอย่างเช่น สำหรับท่านที่ชอบกินมะม่วงจิ้มพริกเกลือ แค่คำเดียวที่กินไปก็เกินมาตรฐาน ที่ WHO กำหนดแล้ว เพราะกำหนดให้ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวันหรือ ประมาณ 2.5 กรัม แต่คนไทยแค่ปรุงก๋วยเตี๋ยวมื้อเดียว ก็เติม 2-3 ช้อนแล้ว กินข้าวก็ต้องมีพริกน้ำปลาพฤติกรรมเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่จะเป็นสาเหตุทั้งสิ้น ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเกลือน้อยจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 25 %สำหรับคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงงเวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ โดยอาการรุนแรงที่สุดคือ หัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก หลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้


รายการอโรคา ปาร์ตี้ ตอนโรคความดันโลหิตสูงชนิดพิเศษ โดย พญ.อยุทธินี สิงหโกวินท์

แพทย์หัวหน้าศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก รพ.พญาไท 2

http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/specialcenter/popup_cms_

article_detail.php?cid=264&mid=Article&subject=%E2%C3%A4%A4

%C7%D2%C1%B4%D1%B9%E2%

C5%CB%D4%B5%CA%D9%A7%AA%B9%D4%B4%BE%D4%E0%C8%C9


โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)


         โรคความดันโลหิตสูง หรือที่บางคนเรียกว่า “ภาวะความดันโลหิตสูง” นั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เกิดการตีบแคบของเลือดหัวใจและหลอดเลือดที่อวัยวะอื่นๆได้อีกมากมาย ภาวะนี้พบได้ตั้งแต่เด็กจนถึงคนชราโดยมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่แล้วกว่าร้อยละ 80 จะหาสาเหตุของความดันที่สูงขึ้นไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ดี เมื่อให้การวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงแล้ว แพทย์ควรจะพยายามตรวจสอบสาเหตุของความผิดปกติด้วย เนื่องจากถ้าหาสาเหตุได้ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดีกว่าที่จะต้องรับประทานยาควบคุมความดันโลหิตไปตลอดชีวิต ความดันโลหิตสูงที่พูดถึงกันในที่นี้คือแรงดันของเลือดภายในหลอดเลือดที่มีผนังหลอดเลือด เปรียบได้กับแรงดันของน้ำที่อยู่ในท่อน้ำ เวลาหมอวัดความดันโลหิตจะวัดโดยทางอ้อมจากเครื่องวัดที่นำมาพันรอบแขนผู้ถูกวัด และบีบลมเข้าไปภายในให้ผ้านั้นรัดรอบแขน (แน่นๆ) เพื่อกดทับหลอดเลือด ( ในแขน ) ก่อนที่จะปล่อยลมออกแล้วใช้หูฟังวัดดูเสียงเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณแขนนั้น แรงดันของลมในแถบผ้าขณะที่เริ่มมีเลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ก็จะเท่ากับแรงดันในหลอดเลือดพอดี ความดันโลหิตของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย เดินหรือวิ่ง ความเครียด ความเจ็บปวด เป็นต้น ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ แต่ในช่วงหลังจากการออกกำลังกายใหม่ๆความดันอาจจะลดลงต่ำในขณะที่รับประทานอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารความดันโลหิตก็อาจจะขึ้นๆลงๆก็ได้
           ดังนั้น การวัดความดันโลหิตที่ใช้เป็นมาตรฐานเพื่อวินิจฉัยว่าใครคนใดคนหนึ่งมีความดันโลหิตสูงหรือไม่จะต้องวัดในขณะที่ผู้ถูกวัดนั่งพักเฉย ๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อยครึ่งชั้วโมง และ ไม่ได้รับประทานอาหารมาหรือทำงานพูดคุยที่อาจจะเกิดความเครียด ความกังกลได้ ถ้าจะวัดความดันโลหิตหลังรับประทานอาการหรือออกกำลังกายแล้วก็ควรจะเกิน 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ ถ้าตัดปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะมีผลให้ความดันขึ้นหรือลงได้มาแล้วทั้งหมดนั้น ความดันโลหิตของคนเราจะสูงที่สุดในช่วงตอนเช้ามืด ซึ่งช่วงดังกล่าวก็จะเป็นช่วงที่ตรงกับเวลาที่คนส่วนใหญ่เกิด Heart Attack หรือเกิดอัมพาต-อัมพฤกษ์ได้บ่อย   เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติที่มีขายอยู่ทั่วไปนั้น ถ้าเทคนิคและวิธีการวัดถูกต้อง ผลที่ได้จะมีความแม่นยำพอสมควร แต่ควรจะมีการตรวจวัดเทียบกับการวัดโดยแพทย์พร้อมๆกันสักครั้งหนึ่งเพื่อให้ทราบว่าเครื่องนั้นวัดได้ค่าที่ถูกต้อง ( หรือบางครั้งจะได้ทราบว่าเครื่องที่ใช้จะมีค่าที่วัดได้สูงหรือต่ำกว่าของจริงเท่าไร) ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ที่วัดความดันโลหิตเองดังกล่าวต้องเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่จะมีผลต่อความดันโลหิตที่กล่าวไว้ด้วย ความดันโลหิตสูงมีผลต่ออวัยวะหลายๆอวัยวะ เช่น อาจจะมีผลกระทบต่อการทำงานของไต หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดในตาหรือหลอดเลือดตามแขนขา มักจะไม่มีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นจนกว่าจะเกิดผลเสียต่ออวัยวะต่างเหล่านั้น แล้ว ดั้งนั้นการดูแลผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงนี้จึงมักจะต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามการทำงานของไต หัวใจ และภาวะหลอดเลือดที่ไหเลี้ยงสมองและตาอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การรักษาที่ได้ทันท่วงที และรวดเร็วรวมทั้งป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดต่ออวัยวะต่างๆจาก
ความดันโลหิตสูงนั้นเสียแต่เนิ่น ๆ ด้วย
           การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ (ประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูง) คนไข้ต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลร่างกายของคนไข้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใครสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การใช้ยาก็จะลดน้อยลงได้ก่อนนี้เราเคยเชื่อกันว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นตามไปด้วยได้ แต่ในปัจจุบันพบว่าความจริงไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ความดันโลหิตปกติของคนเราที่120/80 มิลลิเมตรปรอท ควรจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป ในคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ควรจะได้รับการควบคุมให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 130 / 85 มิลลิเมตรปรอท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น ผู้ที่มีภาวะเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายอัมพาตหรืออัมพฤกษ์ และผู้ที่สูบบุหรี่นั้นยิ่งควรคุมความดันโลหิตให้ไม่เกิน 120 / 80 มิลลิเมตรปรอทความยากลำบากในการดูแลคนไข้ความดันโลหิตความดันโลหิตสูงคือ คนไข้เหล่านี้มักจะไม่มีอาการให้เห็นเด่นชัด น้อยรายที่จะมีความรู้สึกปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะบ้างในบางครั้งและการที่มาตรวจวัดความดันกับหมอก็จะเป็นค่าความดันโลหิตของที่วัดได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะนั้นเป็นการยากที่ที่จะประเมินว่าการรักษาที่ให้นั้นเพียงพอหรือไม่ การดูแลตัวเองโดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญมากเท่าๆกันหรือมากกว่าการรักษาที่แพทย์ให้แก่ผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทีมงานพิเศษสำหรับดูแลคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งทีมงานนี้ควรมีแพทย์อายุรกรรม แพทย์หัวใจ แพทย์โรคไต แพทย์ต่อมไร้ท่อ แพทย์สมอง แพทย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และนักโภชนาการสำหรับแนะนำเรื่องการออกกำลังกายและอาหารที่ป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตสูงไปพร้อมๆกัน



จากหนังสือเรื่องของโรคหัวใจ(เล่ม 2)...รักษา (หัว) ใจ

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ http://www.phyathai.com/phyathai/new/th/specialcenter/

popup_cms_article_detail.php?cid=196&mid=Article


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น